ลิฟต์เป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญภายในอาคาร ถูกใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อให้ทุกคนที่ใช้อาคารสามารถเข้าถึงทุกส่วนของอาคารได้อย่างไม่เกิดความลำบาก โดยการออกแบบลิฟต์เพื่อให้ตอบสนองการใช้งานสำหรับทุกคน ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดในการใช้งานของผู้คนทุกๆกลุ่ม รวมถึงผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงทุกๆพื้นที่ภายในอาคารได้อย่างเท่าเทียม โดยผู้เขียนได้รวบรวมแนวทางการออกแบบลิฟต์โดยสารด้วยหลักการ อรยสถาปัตย์ (Universal Design) โดย อ้างอิงกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ไว้ดังนี้
มีพื้นผิวต่างสัมผัสบนพื้นบริเวณหน้าประตูลิฟต์ กว้าง 30 ยาวไม่น้อยกว่า 90 cm และอยู่ห่างจากประตูไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 60 เซนติเมตร
มีตัวเลข เสียง และ ไฟบอกทิศทางขึ้นลง ซึ่งมีแสงไฟบริเวณโถงหน้าของประตูลิฟต์และติดอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด
เป็นวัสดุเรียบมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับและไม่ลื่น
มีลักษณะกลมหรือลักษณะมนไม่มีเหลี่ยม มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร
ติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 75 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 90 เซนติเมตร
ราวจับด้านที่ติดผนัง มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
และผนังบริเวณจุดยึดต้องเป็นผิวเรียบ
ในกรณีที่ลิฟต์ขัดข้องให้มีทั้งเสียงและแสงไฟเตือนภัยเป็นไฟกะพริบสีแดง เพื่อให้ คนพิการทำงการมองเห็นและคนพิการทำงการได้ยินหรือสื่อความหมาทราบ และให้มีไฟกะพริบสีเขียว เป็นสัญญาณให้คนพิกำรทำงกำรได้ยินหรือสื่อความหมายได้ทรำบว่าผู้ที่อยู่ข้างนอกรับทราบแล้ววา ลิฟต์ขัดข้องและกำลังให้ความช่วยเหลืออยู่
มีระบบชุดไฟสำรองสำหรับกรณีไฟฟ้าปกติหยุดทำงานลิฟต์จะไม่หยุดค้างระหว่างชั้นแต่จะสามารถเคลื่อนที่มายังชั้นที่ใกล้ที่สุดและประตูเปิดออกได้
ภายในลิฟต์ต้องมีระบบไฟส่องสว่างฉุกเฉินและพัดลมระบายอากาศซึ่งสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ในกรณีที่ไฟฟ้าปกติหยุดทำงาน